มนุษย์เงินเดือนเตรียมตัวอย่างไร? ก่อนกู้ซื้อบ้าน

ในฐานะ “มนุษย์เงินเดือน” ขอบอกเลยว่าในวันที่ตัดสินใจแน่วแน่ว่าอยากซื้อบ้านหลังแรกเป็นของตัวเองให้จงได้  ข้อสงสัยต่างๆ ถาโถมเข้ามา เพราะความไม่รู้ทำให้เกิดความกังวลว่าจะกู้ไม่ได้ กู้ไม่ผ่าน วันนี้เลยขอรวบรวม 5 คำถามยอดฮิตที่มนุษย์เงินเดือนควรรู้เมื่อคิดจะยื่นกู้ซื้อบ้าน เพื่อช่วยให้การซื้อบ้านหลังแรกเป็นเป็นไปอย่างราบรื่น

Q1: อยากกู้เงินซื้อบ้าน แต่มีบัตรเครดิตอยู่หลายใบ จ่ายตรงเวลาตลอด จะพอกู้ผ่านไหม?

A:  ความยากของกรณีนี้คือการที่เราใช้จ่ายผ่อนบัตรเครติดหลายใบ ทำให้ธนาคารพิจารณาวงเงินสินเชื่อให้ต่ำกว่าที่เราต้องการ เนื่องจากธนาคารเห็นว่าความสามารถในการชำระหนี้ของเราถูกจำกัด ทางออกของปัญหาคือต้องแสดงให้ทางธนาคารเห็นว่าผู้กู้มีความสามารถในการชำระหนี้คืนกับธนาคาร ซึ่งเครื่องมือที่จะช่วยในกรณีนี้ได้คือบัญชีเงินฝาก โดยอาจที่จะต้องมีเงินฝากในบัญชีธนาคารให้มากเข้าไว้ หรือจะเป็นบัญชีการออมในรูปแบบอื่นๆ เช่นบัญชีหุ้นก็ได้เช่นกัน

หากเป็นไปได้ควรลดจำนวนบัตรเครดิตให้เหลือเพียงใบเดียว เนื่องจากหนี้บัตรเครดิตทั้งหมดจะถูกนับรวมเป็นยอดผ่อนต่อรายได้ด้วยเช่นกัน ยิ่งมีบัตรเครดิตมากเท่าไหร่ ภาระการผ่อนที่สูงขึ้นจนอาจเป็นปัญหาต่อวงเงินสินเชื่อ การลดภาระการผ่อนส่วนนี้ลงจะทำให้แนวโน้มที่จะได้รับอนุมัติสินเชื่อมากขึ้นกว่าเดิม

การปิดบัตรเครดิตนั้น หากมียอดหนี้เดิมอยู่หลายก้อน วิธีการที่ทำให้ปิดบัตรเครดิตได้เร็วที่สุดคือการรีไฟแนนซ์หนี้ทั้งหมดรวมให้เป็นก้อนใหม่ก้อนเดียว และหากเป็นไปได้ ให้ใช้เงินก้อนโปะยอดหนี้ทั้งหมดเท่าที่จะทำได้ เพื่อลดจำนวนเงินต้นที่ค้างอยู่ให้น้อยลง และผลพลอยได้คือทำให้ได้วงเงินสินเชื่อบ้านนั้นเพิ่มขึ้นอีกด้วย

Q2: ถ้าติดเครดิตบูโรอยู่ จะกู้ซื้อบ้านได้มั้ย?

A: การกู้เพื่อซื้อบ้านธนาคารจำเป็นต้องพิจารณาข้อมูลเครดิต โดยหากมีประวัติทางการเงินที่ไม่ดี มีแนวโน้มสูงที่จะไม่พิจารณาเงินกู้ให้ หรือเรียกกับเป็นภาษาง่ายๆ คือ ‘ติดเครดิตบูโร’

วิธีการเดียวที่จะกู้ซื้อบ้านได้เมื่อ ‘ติดเครดิตบูโร’ ก็คือ ต้องจัดการเคลียร์หนี้เก่าที่คั่งค้างอยู่ให้เรียบร้อยเสียก่อน

และด้วยการที่ประวัติการชำระหนี้จะยังคงค้างอยู่ในระบบนานถึง 3 ปี ระหว่างที่รอปลดจากเครดิตบูโร สิ่งที่ควรทำคือ การเพิ่มความน่าเชื่อถือของประวัติทางการเงิน เช่น เปิดบัญชีเงินฝากทำให้บัญชีมีการเข้า-ออกเงินอย่างต่อเนื่อง มีการเก็บเงินไว้ในบัญชีระดับหนึ่ง หรือชำระสินเชื่อให้ตรงเวลาอย่าสม่ำเสมอเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี ทำแบบนี้ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งอาจจะเริ่มผ่อนคลายปล่อยสินเชื่อให้แม้จะยังติดเครดิตบูโรไม่ครบ  3 ปีก็ตาม

Q3: เคยยื่นกู้ซื้อบ้านกับธนาคารแล้วไม่ผ่าน จะสามารถยื่นกู้ได้อีกกี่ครั้ง?

A: การยื่นกู้ซื้อบ้านกับธนาคารนั้นไม่ได้มีการจำกัดจำนวนครั้งในการยื่นกู้ โดยหากเรายื่นกู้ซื้อบ้านครั้งแรกแล้วกู้บ้านไม่ผ่านหรือไม่ได้รับการอนุมัติ ธนาคารมักจะให้สิทธิ์ในการอุทธรณ์หรือสิทธิ์ในการยื่นหลักฐานเพิ่มเติม เพื่อพิจารณาว่ามีความสามารถในการชำระสินเชื่อหรือไม่

เทคนิคที่จะช่วยให้มนุษย์เงินเดือนอุทธรณ์สินเชื่อผ่าน ประกอบไปด้วย

ยอดผ่อนต่อรายได้ (Debt Service Ratio – DSR) หมายถึง สัดส่วนของเงินผ่อนต่อรายได้ต่อเดือน แม้ว่าธนาคารบางแห่งจะยอมให้มียอดผ่อนต่อรายได้สูงถึง 70% แต่เกณฑ์มาตรฐานของธนาคารส่วนใหญ่มักอยู่ที่ไม่เกิน 50% ของรายได้ ซึ่งหากยอดผ่อนต่อรายได้ มีแนวโน้มที่จะเกินเกณฑ์ ธนาคารก็จะไม่อนุมัติสินเชื่อให้

วิธีการที่จะรักษายอดผ่อนต่อรายได้ให้อยู่ในเกณฑ์ 50% มีอยู่ 2 ทางคือ การเพิ่มรายได้ และ ลดภาระการผ่อนที่ไม่จำเป็น อาทิ ผ่อนรถ บัตรเครดิต หรือสินเชื่อส่วนบุคคล

ใช้บัญชีเงินฝากให้เป็นประโยชน์ เงินฝากหรือเงินเก็บถือเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ธนาคารเห็นว่าเรามีความมั่นคง เป็นคนมีวินัยทางการเงิน และสามารถชำระสินเชื่อได้ตลอดอายุสัญญา ซึ่งธนาคารไม่สามารถยึดเงินส่วนนี้ไปได้ หากไม่ถูกนำไปใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน บัญชีเงินฝากจึงมีประโยชน์ในฐานะของเครื่องมือเพิ่มความน่าเชื่อถือทางการเงิน ที่จะช่วยให้อนุมัติสินเชื่อได้ง่ายยิ่งขึ้น

Q4: รายได้เท่าไรถึงจะขอสินเชื่อได้?

A: รายได้ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะบอกว่า เราสามารถกู้ซื้อบ้านได้หรือไม่ และกู้ได้ในวงเงินที่เราต้องการหรือไม่ โดยปกติแล้ว รายได้ขั้นต่ำที่จะขอสินเชื่อได้อยู่ที่ประมาณ 15,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร ถ้ามีรายได้มากก็จะมีโอกาสขอสินเชื่อได้วงเงินสูงขึ้น

สำหรับผู้ที่มีรายได้ประจำ หรือ “มนุษย์เงินเดือน” การขอสินเชื่อมักทำได้ไม่ยาก เพราะมีหลักฐานแสดงที่มาของรายได้ และมีรายได้เข้ามาอย่างสม่ำเสมอ แต่ถ้าเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ ไม่ได้มีรายได้ประจำ เมื่อจะขอสินเชื่อจึงควรแสดงให้ธนาคารเห็นว่า มีรายได้เข้ามาอย่างสม่ำเสมอ โดยนำเงินฝากเข้าธนาคารในวันเดียวกันเป็นประจำทุกเดือน เช่น นำเงิน 20,000 บาท ฝากทุกวันที่ 30 ของทุกเดือน และหากเป็นการฝากเข้าบัญชีกับธนาคารที่เราจะยื่นขอสินเชื่อ การอนุมัติวงเงินสินเชื่อก็จะง่ายขึ้นอย่างมาก

Q5: ความสามารถในการชำระหนี้ของคู่สมรส และผู้กู้ร่วมจำเป็นหรือไม่?

A: สองกรณีนี้มีความสำคัญต่างกัน ในกรณีการขอสินเชื่อเพื่อซื้อบ้านโดยผู้ขอสินเชื่อแต่งานหรือจดทะเบียนสมรสแล้ว ถ้าคู่สมรสที่มีรายได้แน่นอน และมีความมั่นคงเช่นเดียวกัน จะมีส่วนช่วยเพิ่มแนวโน้มที่สถาบันการเงินจะอนุมัติสินเชื่อได้มากขึ้น เนื่องจากสถาบันการเงินจะนำรายได้ของทั้งสามี และภรรยามาประเมินความสามารถในการชำระหนี้ มากไปกว่านั้นยังทำให้ได้รับวงเงินในการกู้ซื้อบ้านที่สูงขึ้นด้วย

สำหรับคนที่ยังโสด หากต้องการวงเงินสินเชื่อที่สูงขึ้น การหาผู้กู้ร่วมเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยได้ ซึ่งการยื่นขอสินเชื่อแบบมีผู้กู้ร่วม ต้องแสดงเอกสารทางการเงินของผู้กู้ร่วมเช่นเดียวกัน โดยมีเงื่อนไขว่าผู้กู้ร่วมต้องเป็นญาติเท่านั้น หรือบางธนาคารอาจจะมีนโยบายให้เพื่อนหญิง เพื่อนชายเป็นผู้กู้ร่วมได้

แต่ต้องทำความเข้าใจความรับผิดชอบในฐานะผู้กู้ร่วมให้ชัดเจน และหากเครดิตผู้กู้ร่วมไม่ดีก็จะกลายเป็นปัญหามากกว่าการมาช่วยสนับสนุนวงเงินกู้ได้เช่นกัน เมื่อทำความเข้าใจกับ 5 คำถามนี้แล้วเชื่อว่าการกู้ซื้อบ้านครั้งนี้จะผ่านฉลุยแน่นนอน

บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์โฮม ดูรายละเอียดโครงการได้ที่ KD.CO.TH

Facebook

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า

ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

ให้เราได้เป็นส่วนหนึ่งในการค้นหาของคุณ
Search
คำค้นหายอดนิยม

Register







    Register