เคล็ดลับดูแลบ้านให้น่าอยู่ เหมือนเพิ่งซื้อบ้านใหม่

เมื่อตัดสินใจซื้อบ้าน ซึ่งน่าจะเป็นการซื้อที่มีมูลค่าสูงสุดของใครหลายคน บ้านจึงกลายเป็นทุกอย่าง การสร้างความทรงจำโดยให้บ้านของอยู่ในสภาพที่ดีเหมือนบ้านใหม่ ต้องใช้การบำรุงรักษา การจัดระเบียบ และเพิ่มความใส่ใจอย่างสม่ำเสมอ มาดูเคล็ดลับดีๆ ในการดูแลและซ่อมบำรุงเพื่อให้บ้านของคุณสภาพดีเหมือนบ้านใหม่ ด้วยขั้นตอนง่ายๆ

  1. หมั่นทำความสะอาดภายนอกและภายใน

ควรทำความสะอาดบ้านภายในและภายนอกบ้านถือเป็นสิ่งแรกที่ควรทำ  ฝุ่นหรือหยากไย่จะทำให้บ้านเป็นคราบ ไม่สะอาดตา ยิ่งบ้านที่เป็นผนังสีขาว จะเห็นฝุ่นได้ชัด และที่สำคัญการรักษาความสะอาด ไม่ใช่เพียงเป็นการดูแลบ้านแต่เป็นการไม่ทำลายสุขภาพของผู้อยู่อาศัยอีกด้วย

2. ป้องกันบ้านให้ปลอดภัยจากปลวก

ควรสำรวจรอบตัวบ้าน เช่น วัสดุในบ้านที่เป็นไม้ทุกชนิด สวนตกแต่งภายนอกบ้านหากพบร่องรอยการอาศัยของปลวกแนะนำให้ใช้บริการบริษัทกำจัดปลวกมืออาชีพ เพราะภัยร้ายจากปลวกมักทำให้บ้านเสียหายเสมอ จึงควรตรวจสอบปลวกทุกๆ 4 เดือน หากพบเห็นว่ามีรังปลวก หรือ ปลวกจำนวนมาก ให้รีบทำการกำจัดปลวกทันที

3. ดูแลรอยร้าว จุดรั่วซึม

เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยป้องกันไม่ให้บ้านของคุณทรุดโทรมได้ง่าย คือการดูแลและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาน้ำรั่วซึมตามบริเวณต่างๆ ของตัวบ้าน เพราะถ้าเกิดปัญหาน้ำรั่วซึมแล้วจะทำให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมาอีกเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดรอยคราบน้ำซึมและอันตรายหากน้ำที่รั่วไฟลซึมเช้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือปลั๊กไฟในบ้าน ดังนั้นหากพบว่ามีรอยร้าวหรือจุดรั่วซึมให้ทำการแก้ไขทันที

4. เช็คสภาพกระเบื้องพื้นให้ใช้งานได้ดี

สิ่งนี้ถือว่าสำคัญเช่นกันเพราะเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของสมาชิกภายในบ้าน โดยต้องตรวจสอบพื้นกระเบื้องของบ้าน ว่ามีการโก่งตัวหรือไม่ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ สะดุดล้ม ตรวจเช็คกระเบื้องพื้นภายนอกบ้าน ว่ามีน้ำขังหรือไม่ เพราะหากกระเบื้องมีน้ำขังบ่อยๆ ทิ้งไว้จะเกิดตะไคร่ ทำให้พื้นลื่น และเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุแก่คนในบ้านได้

5. ตรวจสอบผนัง หลังคา ทาสีให้ใหม่อยู่เสมอ

หากบริเวณผนังส่วนใดของบ้านที่เกิดปัญหาสีลอกล่อน โป่งพอง มีรอยน้ำคราบสกปรก หรือตะไคร่ อย่างแรกคือควรทำความสะอาดในเบื้องต้น แต่หากคราบยังคงฝังลึก หรือมีสีหลุดร่อนเป็นวงกว้างแนะนำให้ทาสีใหม่ เพื่อความสวยงานของบ้าน

หลังคา ก็เป็นอีกส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันแต่การตรวจสอบจำเป็นต้องใช้ผู้ให้บริการมืออาชีพ ในการหาจุดรั่วหรือความแข็งแรงของหลังคา ประเมินอายุการใช้งาน เพื่อความปลอดภัยและการชำนาญในการตรวจสอบ

6. ตัดแต่งสวนต้นไม้

สำหรับบ้านไหนมีพื้นที่จัดสวน ปลูกต้นไม้รอบบ้าน ต้องระวังไม่ให้ต้นไม้รกจนเกินไป หมั่นดูแลรักษา ตัดตกแต่งกิ่งให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อป้องกันสัตว์ร้าย และรดน้ำต้นไม้เป็นประจำ ให้เขียวสด เบ่งบาน ไม่แห้งเหี่ยวและสวยงามอยู่ตลอด

7. ควบคุมระดับความชื้น

ความชื้นภายในบ้านที่สูงอาจทำให้เกิดเชื้อรา ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง และมักจะแก้ไขได้ยาก ซึ่งเชื้อราจะเจริญเติบโตได้ดีในบริเวณที่มีความชื้นสูงและบริเวณที่มีอุณหภูมิประมาณ 25-30 องศาเซลเซียส การใช้เครื่องลดความชื้น และเครื่องปรับอากาศก็เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่น่าสนใจ และที่สำคัญความชื้นที่มากเกินไปอาจดึงดูดหนูและแมลงเข้ามาในบ้านได้อีกด้วย

8. ดูแลช่องระบายอากาศให้สะอาด

ท่อและช่องระบายอากาศที่อุดตันอาจทำให้เกิดไฟไหม้ได้ สิ่งสำคัญคือต้องทำความสะอาดช่องระบายอากาศทุกปีและเปลี่ยนท่อลมเป่าแห้งตามรอบเวลาการซ่อมบำรุง รวมถึงต้องทำความสะอาดพัดลมเพดาน และพัดลมห้องน้ำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้คุณหายใจเอาฝุ่นที่สะสมอยู่บนพัดลมเข้าไป พัดลมในห้องน้ำช่วยลดการสะสมความชื้นในห้องน้ำของคุณ และยังมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นเมื่อทำความสะอาด

9. เลือกซื้อบ้านที่ออกแบบให้บำรุงรักษาง่าย

บ้าน คือที่พักอาศัยระยะยาว หากคุณต้องการให้บ้านดูเหมือนใหม่ดูแลรักษาง่าย ควรให้ความสำคัญกับการออกแบบที่ง่ายต่อการบำรุงรักษา เช่น การออกแบบห้องน้ำชั้นบนให้ตรงกับลานจอดรถหรือระเบียงข้างบ้าน เมื่อถึงเวลาต้องซ่อมบำรุงจะได้ไม่ต้องเข้าไปซ่อมในบ้าน หรือการทำขอบกันน้ำที่หน้าต่างเพื่อเป็น Double Protect สำหรับบ้านทุกหลัง เพื่อไม่ให้ฝนสาดเข้าตัวบ้าน ทำให้ “ง่าย” ต่อการซ่อมบำรุง ออกแบบพื้นครัวนอกและลานซักล้าง วางไว้บนคาน ป้องกันการทรุดตัวได้ดี ออกแบบที่จอดรถแยกจากตัวอาคาร จึงง่ายต่อการซ่อมบำรุงในอนาคต เลือกใช้วัสดุทดแทนไม้แทนการใช้ไม้จริง ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และหมดกังวลเรื่องปลวก มอด

            ลองนำเคล็ดลับไปเช็คบ้านของคุณ ดูแลรักษาบ้าน จะได้สวยงามน่าอยู่เสมอ

Facebook

Register







    ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

    ให้เราได้เป็นส่วนหนึ่งในการค้นหาของคุณ
    Search
    คำค้นหายอดนิยม

    Register