อัตราดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. ครั้งล่าสุดได้ปรับขึ้นอีก 0.25% ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะขยับจาก 1.75% เป็น 2.00% การขึ้นดอกเบี้ยดังกล่าวจะทำให้ธนาคารต่างๆ เริ่มทยอยขึ้นดอกเบี้ยตามซึ่งจะส่งผล 2 ทาง คือ
- ผู้กู้เงินกับธนาคาร จ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น
- ผู้ฝากเงินกับธนาคาร รับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น
เมื่อทิศทางอัตราดอกเบี้ยไปในฝั่งขาขึ้น สิ่งที่ผู้ซื้อบ้านต้องเตรียมตัวนับจากนี้ไปก็คือ
เตรียมตัวตั้งรับกับสินเชื่อบ้านที่เราจะหาประเภท “ดอกเบี้ยคงที่” ได้ยากขึ้น เพราะหลายธนาคารเริ่มถอดโปรโมชั่นสินเชื่อบ้านอัตราดอกเบี้ยคงที่ 2-3 ปีแรก มาเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะสั้น และปรับเป็น อัตราดอกเบี้ยลอยตัว โดยอาจจะเสนออัตราดอกเบี้ยคงที่ไม่เกิน 6-12 เดือน หรือไม่มีโปรโมชั่นอัตราดอกเบี้ยคงที่เลย เพื่อลดความเสี่ยงของธนาคารและลดภาระดอกเบี้ย
หากเราเป็นผู้ที่กำลังหาซื้อบ้าน โครงการใดมีบริการสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยคงที่ นาน 2-3 ปี ก็ดูจะได้แต้มต่อกว่าโครงการที่ไม่มีโปรโมชั่น “ดอกเบี้ยคงที่” แต่ก็ต้องดูว่าอัตราดอกเบี้ยคงที่ที่ให้พอมาเฉลี่ยๆ กันแล้ว ยังถือว่าน่าสนใจอยู่หรือไม่
สำหรับผู้กู้บ้านที่อยู่ระหว่างผ่อนชำระจะได้รับผลกระทบอะไรบ้าง?
กรณีเราเป็นลูกค้ารายใหม่หรือกำลังจะได้รับอนุมัติสินเชื่อ หาก กนง.ปรับดอกเบี้ยขึ้น 0.25% จากปกติวงเงินสินเชื่อบ้าน 1,000,000 บาท ยอดผ่อนชำระ 4,500 บาท/เดือน ก็จะปรับยอดผ่อนชำระเพิ่มขึ้น 4-5% ประมาณ 250 บาท/เดือน ทำให้ยอดผ่อนเพิ่มขึ้นเป็น 4,750 บาท/เดือน
กรณีเราเป็นลูกค้าเดิม หาก กนง.ปรับดอกเบี้ยขึ้น 0.25% ภาระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นทันที แต่อาจจะไม่ได้รับผลกระทบยอดผ่อนชำระต่องวด เนื่องจากธนาคารมีการใส่ buffer ลดผลกระทบจากการเคลื่อนไหวของดอกเบี้ยขึ้นและลงเข้าไปในการคำนวณดอกเบี้ยประมาณ 0.50-0.75% ไว้ตลอดอายุสัญญาอยู่แล้ว แต่ก็จะทำให้ยอดผ่อนชำระต่องวด จะหักดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นและหักเงินต้นลดลง หมายความว่าลูกหนี้ต้องบ้านผ่อนนานขึ้น
ดังนั้น เมื่อคิดซื้อบ้านต้องเตรียมรับมือ “ดอกเบี้ยขาขึ้น”
สำหรับใครที่กำลังวางแผนการซื้อบ้าน ลองคำนวณตัวเลขว่ากู้บ้าน วางดาวน์เท่าไหร่ วงเงินสินเชื่อได้เท่าไหร่ ยอดผ่อนชำระต่อเดือนเท่าไหร่ สามารถผ่อนชำระได้หรือไม่ ระยะเวลาการผ่อนชำระกี่ปี และประเมินสถานการณ์กรณีปรับดอกเบี้ยขึ้น 0.25% หรือ มากกว่านั้นเราจะรับภาระได้หรือไม่ ซึ่งเรื่องเหล่านี้สามารถจะปรึกษากับธนาคารที่เราจะขอสินเชื่อได้
เพราะการปรับขึ้นดอกเบี้ยทุก ๆ 1% จะทำให้ภาระการผ่อนสินเชื่อบ้านทั้งหมดปรับขึ้นอีกประมาณ 7% ส่งผลให้ผู้ซื้อบ้านต้องส่งเงินงวดสูงขึ้นกว่าเดิมหรือใช้เวลามากขึ้นในการผ่อนชำระ หรือเราจะได้วงเงินสินเชื่อที่น้อยลง
อีกหนึ่งทางออกสำหรับการวางแผนซื้อบ้านในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น ก็คือ ก่อนตัดสินใจซื้อบ้านควรวางแผนร่วมกับทางโครงการ หากเรายังไม่มั่นใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยในสถานการณ์ปัจจุบันซึ่งอาจจะส่งผลต่อภาระการผ่อนหรือวงเงินสินเชื่อของเรา ก็ให้เลือกซื้อบ้านบ้านสั่งสร้าง ผ่อนเงินดาวน์เป็นงวดๆ สัก 6-12 งวดหรืออาจจะมากกว่านั้น เพื่อให้วงเงินที่จะขอสินเชื่อลดลง แม้ว่าดอกเบี้ยจะปรับขึ้นก็สามารถขอสินเชื่อได้อย่างสบายใจ
ดูรายละเอียดโครงการได้ที่ KD.CO.TH
Facebook : Kanda Property